วันจันทร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

วันอังคารที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2555



การฝึกฟุตบอลเบื้องต้น

การเล่นกีฬาฟุตบอลให้เกิดประสิทธิภาพ ผู้เล่นต้องเรียนรู้จนเกิดทักษะพื้นฐานหลายด้าน 
อาทิ การเคลื่อนไหวเบื้องต้น การทำความคุ้นเคยกับลูกฟุตบอล การหยุดหรือบังคับลูก ทักษะเหล่านี้มี
ความละเอียดอ่อน และเป็นพื้นฐานสำหรับเทคนิคการเล่นอื่น ๆ ต่อไป ซึ่งต้องอาศัยการฝึกฝนจน
ชำนาญ และเป็นทักษะที่ต้องการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง


1. การทรงตัว

2. การเคลื่อนที่ไปข้างหน้า ถอยหลัง ไปทางซ้าย ไปทางขวา

3. การสร้างความคุ้นเคยกับลูกฟุตบอล

4. การหยุดหรือบังคับลูกฟุตบอล

5. การส่ง - รับ ลูกฟุตบอล



การทรงตัว

การทรงตัวเป็นพื้นฐานเบื้องต้นที่มีความสำคัญในการฝึกกีฬาทุกชนิด เพื่อการเคลื่อนไหวได้อย่าง
คล่องแคล่วว่องไว สามารถทำให้การเล่นกีฬาเป็นไปอย่างต่อเนื่อง สนุกสนานเร้าใจท่าทางการทรงตัว
ที่ผู้เล่นฟุตบอลควรฝึกหัดมีดังนี้
       1. ทำการทรงตัวและจังหวะการใช้เท้าทั้งบนพื้นดินและในอากาศ
       2. การถ่ายน้ำหนักตัวไปสู่เท้าหลัก เมื่อมีการครอบครองลูก เตะลูกหรือเลี้ยงลูกฟุตบอล
       3. การวิ่งตามแบบของฟุตบอล เช่น วิ่งไปที่มุมสนาม วิ่งหาช่องว่าง วิ่งตัดกันเพื่อหลอกคู่ต่อสู้
       4. การวิ่งซิกแซ็ก เพื่อการหลบหลีกเมื่อเลี้ยงหรือครอบครองลูก
 





การเคลื่อนที่ไปข้างหน้า ถอยหลัง ไปทางซ้าย ไปทางขวา

มีวิธีการฝึกดังนี้
     1. ทิ้งน้ำหนักตัวไปสู่ทิศทางที่จะเคลื่อนที่ไป ตาจับอยู่ที่ลูกบอล
     2. เคลื่อนเท้าที่อยู่ในทิศทางที่จะเคลื่อนไป นำไปก่อน แล้วจึงเคลื่อนเท้าอีกข้างหนึ่งตามไปโดยเร็ว 
          เช่น ไปทางซ้ายให้ก้าวเท้าซ้ายนำไปก่อน แล้วก้าวเท้าขวาตามไป
     3. การใช้ปลายเท้าสัมผัสพื้น ช่วยให้การเคลื่อนไหวรวดเร็วขึ้น 



การสร้างความคุ้นเคยกับลูกฟุตบอล

         พื้นฐานของการเล่นฟุตบอลที่สำคัญอย่างหนึ่งก็คือ การสร้างความสัมพันธ์หรือความคุ้นเคยกับลูก
ฟุตบอลเป็นอย่างดี กล่าวคือ การเล่นลูกฟุตบอลต้องสามารถทำได้อย่างที่ตั้งใจไว้ทุกประการ ไม่ว่าจะ
เป็นการเล่นลูกแบบใดก็ตาม
         การที่ผู้เล่นคุ้นเคยกับลูกฟุตบอลจะส่งผลให้การครอบครองบอล การเคลื่อนที่ในลักษณะต่างๆ การควบคุมบังคับทิศทางของลูกฟุตบอลเป็นไปด้วยความแม่นยำ ดังนั้น จึงควรให้ผู้เล่นฝึกความคุ้น
เคยให้ชินกับลูกฟุตบอลมากที่สุด 



วิธีการสร้างความคุ้นเคยกับลูกฟุตบอล
      1. วางเท้าบนลูกฟุตบอลแล้วคลึงด้วยฝ่าเท้าไปมาหน้า - หลัง ซ้าย - ขวา โดยให้อยู่กับที่ ให้ทำ
          ทั้งเท้าซ้าย-ขวา
      2. ทำเหมือนข้อที่ 1 แต่ให้เคลื่อนที่ไปตามทิศทางต่าง ๆ ด้วย
      3. ใช้ฝ่าเท้าตบลูกฟุตบอลให้กระดอนขึ้น-ลง โดยใช้เท้าซ้ายหรือขวาสลับกัน
      4. วางเท้าด้านในติดกับข้างลูกฟุตบอล ใช้ข้างเท้าด้านในปาดเหนือลูกมาอีกด้านหนึ่งของลูก ตอน
          นี้ลูกฟุตบอลจะอยู่ข้างเท้าด้านนอก แล้วใช้เท้าด้านนอกปาดลูกกลับไปอีกด้านตามเดิม แล้วให้
          ฝึกสลับเท้าด้วย
      5. งัดลูกฟุตบอลด้วยปลายเท้าให้ลูกลอยขึ้นในอากาศ หยุดลูกด้วยหลังเท้า หรือฝ่าเท้า
      6. งัดลูกฟุตบอลด้วยปลายเท้าให้ลูกลอยขึ้นในอากาศ แล้วเดาะลูกด้วยเท้า เข่า หน้าอก 
          ศีรษะ สลับกัน
      7. ทำเหมือนข้อ 6 แต่เคลื่อนที่เป็นระยะทางไกล โดยลูกฟุตบอลไม่ตกถึงพื้น
 






การหยุดหรือบังคับลูกฟุตบอล

         การหยุดลูกได้ดีนั้น ทำให้สามารถที่จะบังคับและควบคุมลูกฟุตบอลให้เคลื่อนที่ไปในลักษณะใด
ก็ได้ตามต้องการ เช่น การเลี้ยง การส่งลูก การยิงประตู ทำให้ทีมเป็นฝ่ายรุก เพื่อโจมตีฝ่ายตรงข้าม
เราสามารถหยุดลูกฟุตบอลด้วยส่วนใดของร่างกายก็ได้ ยกเว้นแขนและมือทั้งสองข้างคำจำกัดความ
         การหยุดลูก หมายถึง การบังคับลูกที่มาในลักษณะต่าง ๆ ทั้งบนพื้นดินและในอากาศให้อยู่ใน
ครอบครองของเรา เพื่อจะได้ส่งลูกต่อไปตามความต้องการ

หลักในการหยุดลูกมีอยู่ 3 ประการ คือ
       1. จะใช้ส่วนใดของร่างกายในการหยุดลูก
       2. การเคลื่อนตัวเข้าสู่ตำแหน่ง เพื่อหยุดลูกที่ลอยมาหรือกลิ้งมากับพื้น
       3. ใช้เทคนิคการผ่อนของร่างกาย เพื่อลดแรงปะทะของลูก

      การหยุดลูกด้วยฝ่าเท้า ให้พยายามหยุดลูกฟุตบอลเบา ๆ การใช้ฝ่าเท้าหยุดลูก ให้หยุดลูก
ที่ส่งเรียดมากับพื้น โดยเปิดปลายเท้าขึ้นปะทะลูกไว้ในครอบครองและให้ฝ่าเท้าสัมผัสส่วนบนของลูก 
พร้อมที่จะเคลื่อนที่ต่อไป 







การหยุดลูกด้วยข้างเท้าด้านใน 

วิธีนี้สามารถใช้หยุดลูกที่ส่งเรียดหรือต่ำ
       1. ใช้ในการควบคุมลูกฟุตบอลให้ตกลงสู่พื้นอย่างประณีต ในขณะที่เคลื่อนไปข้างหน้า
       2. วางมุมเท้าเพื่อหยุดลูก โดยการบิดลำตัวทางด้านข้างตามแนวที่ลูกลอยมา ใช้ข้างเท้า
           ด้านในสัมผัสตรงกลางลูก เพื่อผ่อนแรงปะทะ

       3. การหยุดลูกใช้องค์ประกอบ 3 อย่าง คือ ข้างเท้าด้านใน ข้อเท้า และพื้นสนาม
       4. คาดคะเนจังหวะลูกฟุตบอลกระทบกับเท้าและพื้นดินพร้อม ๆ กัน เพื่อการหยุดลูกไว้อย่างมั่นคง 







การหยุดลูกด้วยหลังเท้า

          วิธีนี้ใช้หยุดลูกฟุตบอลที่ลอยมา ให้งอเข่าและยกเท้าขึ้น เพื่อรับลูกที่กำลังจะตกพื้น ให้ลดขาและ
เท้าเพื่อผ่อนแรงปะทะ ตาจ้องมองดูลูก ใช้ขาข้างใดข้างหนึ่งเป็นหลักและทรงตัวให้มั่นคง 





การหยุดลูกด้วยหน้าขา

          ใช้ในกรณีที่ลูกลอยมาสูงกว่าระดับเอว ใช้หน้าขาหยุดลูกไว้โดยให้งอเข่ารับผ่อนแรง โดยลดต้น
ขาลงแล้วปล่อยลูกตกลงพื้นอยู่กับเท้าเพื่อครอบครองบอล โดยใช้แขนทั้งสองข้างและขาที่ยืนเป็นหลัก
ช่วยในการทรงตัว
 




การหยุดลูกด้วยหน้าอก


         วิธีนี้ใช้รับลูกที่ลอยมา ให้แยกแขนทั้งสองออก ยืดอกรับลูกแล้วปล่อยลูกลงพื้นอยู่กับเท้า โดย
การยืนแยกขาออกเล็กน้อย เพื่อการทรงตัว ขณะที่ลูกปะทะกับหน้าอก ให้ย่อตัวและไหล่ทั้งสองข้าง
เพื่อลดแรงปะทะ





การส่งลูกบอล 

        การส่งลูกบอล  หมายถึง  การที่ผู้เล่นเตะหรือเขี่ยลูกบอลส่งไปให้ผู้เล่นฝ่ายเดียวกันรับได้ในจังหวะที่สะดวกสบายด้วยส่วนต่างๆของร่างกายตามกติกา  โดยเลือกวิธีการส่งที่ได้เปรียบคู่ต่อสู้ให้มากที่สุดถูกต้อง  แม่นยำ และรวดเร็วที่สุด

การรับลูกบอล  

         การรับลูกบอล หมายถึงการที่ผู้เล่นสามารถรับหรือหยุดลูกจากการเตะหรือ
เขี่ยส่งลูกบอลของเพื่อนร่วมทีมไว้เพื่อเล่นต่อไปได้ รวมถึงการสกัดหรือตัด
รับลูกบอลจากฝ่ายตรงข้าม  โดยไม่ผิดกติกา



วันจันทร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

วันจันทร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ตารางคะแนน เอไอเอสลีก [ 26/6/2555 ] << ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ >>


  ตารางคะแนน
เอไอเอสลีก [ 26/6/2555 ]
<<ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ>>

LPTEAMPPTs
1ร้อยเอ็ด ยูไนเต็ด1738
2อุดรธานีฯ1733
3ศรีสะเกษ ยูไนเต็ด1732
4มหาสารคาม ยูไนเต็ด1731
5นครพนมฯ1731
6เลย ซิตี้1728
7หนองคาย เอฟที1725
8อำนาจเจริญ ทาวน์1724
9ยโสธร ยูไนเต็ด1723
10กาฬสินธุ์ฯ1720
11ชัยภูมิฯ1717
12หนองบัวลำภูฯ1717
13สุรินทร์ฯ1715
14มุกดาหาร ซิตี้1713
15อุบลราชธานีฯ1712
16สกลนครฯ178
» ดูทั้งหมด